วันพฤหัสบดีที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2560

ลักษณะของหินตะกอน

๒. หินตะกอน

         หินตะกอนเกิดจากการผุพังของหินต่างๆทที่ผิวโลก เกิดการพัดพา ทับถม และอัดตัวกันของกรวดทราย เศษหิน และดิน โดยมีวัตถุประสานในธรรมชาติ เช่น ซิลิกา เหล็กออกไซด์ แคลเซียมคาบอเนต ทำหน้าที่เป็นตัวประสานให้เนื้อตะกอนติดกัน ลักษณะของหินตะกอนเป็นชั้นๆ ที่มีความหนาแน่นแตกต่างกัน อันเนื่องมาจากปริมาณของตะกอนและระยะเวลาของการทับถม ทำให้สามารถจำแนกชนิดของหินตะกอนได้
ชนิดของหินตะกอน
ลักษณะของเนื้อหิน
ประโยชน์
แหล่งที่พบ
๑. ศิลาแลง เกิดจากการผุกร่อนของหินอัคนี โดยมีเหล็กออกไซด์ เป็นวัตถุประสาน

เนื้อแข็ง หยาบ มีรูพรุน ขรุขระ สีน้ำตาลแดง

ใช้ทำกำแพง

บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ
หินทราย เกิดจากตะกอนของทราย ตะกอนมาเกาะกัน มีซิลิกา เหล็กออกไซด์ หรือแคลเซียมคาร์บอเนตเป็นวัตถุประสาน


เนื้อสา หยาบ คล้ายทรายทั้งก้อน มักมีสีน้ำตาล

ใช้ทำหินลับมีด นำมาแกะสลัก ใช้ในงานก่อสร้าง

เพชรบุรี ราชบุรี กาญจนบุรี
นครราชสีมา

หินดินดาน เกิดจากตะกอนของดินโคลน เศษหิน และแร่ที่ละเอียดมาก

เนื้อละเอียด กะเทาะหลุดออกมาเป็นแผ่นได้ง่าย
ใช้ผสมทำปูนซีเมนต์ปูพื้นทางเดิน
สงขลา เลย สระบุรี
๔. หินปูน
 เกิดจากการทับถมของซากพืช ซากสัตว์


ในเนื้อหินอาจพบซากพืช ซากสัตว์ติดอยู่เป็นเนื้อแข็ง

ผสมคอนกรีตใช้ในงานก่อสร้าง ทำวัตถุทนไฟ

สระบุรี ราชบุรี เพชรบุรี

๕.หินกรวดมน
 เกิดจากตะกอนของกรวดหรือเศษหินขนาดใหญ่
กลม มน เนื่องจากถูกขัดสีระหว่างการพัดพาตะกอน เนื้อหยาบมากประกอบด้วย เศษหินและเศษแร่ขนาดใหญ่ แข็งแกร่ง ทนทาน
ใช้ทำถนนในบ้าน ใช้ในการก่อสร้าง
พบทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือเกือบทุกจังหวัด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น